โครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนด้านคดีและภัยออนไลน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อให้บริการให้คำปรึกษาประชาชนจากภัยออนไลน์ โดยมีบุคลากรให้ความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านกฎหมาย/ข้อระเบียบ แนวทางและทักษะการปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดบรรยายองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับเทคโนโลยีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ภัยออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ การรวบรวม วิเคราะห์พยานหลักฐานอิล็กทรอนิกส์ในแต่ละรูปแบบอาชญากรรม
ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อันสามารถนำไปปรับไช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และองค์ความรู้ ทักษะการปฏิบัติงานในการตรวจสอบข้อมูลจราจร
ทางคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

3. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แนวทางการป้องกันระวังคดีภัยออนไลน์สำหรับประชาชน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภาครัฐและเอกชน
โดยการจัดงานสัมมนาสร้างการตระหนักรู้ การป้องกันคดีภัยออนไลน์

4. เพื่อให้มีระบบฐานข้อมูลเตือนภัยออนไลน์ ที่ประชาชนสามารถใช้สืบคันข้อมูลความรู้เตือนภัยออนไลนได้และเป็นการสร้างความตระหนักรู้ ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยออนไลน์

5. เพื่อศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ และให้ข้อเสนอแนะงานด้านกฎหมายโดยจัดทำผลการศึกษาด้านกฎหมาย ข้อระเบียบ ขั้นตอนและองค์กร
ที่ปฏิบัติงานในการระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายออนไลน์ในระดับสากล เพื่อสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงข้อกฎหมาย ระเบียบแนวทางดำเนินงานที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตามยุคสมัยที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงต่อไปได้

6. เพื่อให้มีสื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ การระวังภัยออนไลน์สำหรับประชาชน และมีการเผยแพร่สื่อตามช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้ประซาชนได้ตระหนัก ป้องกันการหลอกลวง และมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตนเองไม่ให้เกิดความเสียหายได้

หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ปท.) สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ประวัติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (อังกฤษ: Ministry of Digital Economy and Society) เป็นกระทรวงในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ภายใต้ชื่อ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่อมาได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ [๖] มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการ
ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ

ต่อมาวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดตั้ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ขึ้นมาแทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๕๙ ส่งผลให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องสิ้นสุดลง และจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นแทน กระทรวงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ใช้อักษรย่อ ดศ.

ต่อมาในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาแทน (เปลี่ยนชื่อกระทรวง)

ต่อมาในวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ จึงเท่ากับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ปลัดคนแรกของกระทรวงได้แก่ นางทรงพร โกมลสุรเดช

ในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มีประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ แต่งตั้ง วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยให้มีผลในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป

ความเป็นมา

ด้วยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการรองรับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อาทิ ความผิดที่ว่าด้วยการทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือการกระทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบกับในสภาวะปัจจุบันมีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมาก โดยในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา มีจำนวนคดีออนไลน์ที่ต้องการให้กระทรวงดิจิทัลฯ ตรวจสอบ จำนวน ๗,๙๖๖ เรื่อง เช่น การหลอกลวง การปลอมแปลงการโพสต์กลั่นแกล้ง
การโพสต์ข้อความเพื่อเกิดความวุ่นวายในสังคม (Fake News) การขายของที่ผิดกฎหมายในโลกออนไลน์ การละเมิดลิขสิทธิ์ สื่อลามกอนาจาร การสร้างแอพพลิเคชันปลอมเพื่อหลอกลวง เป็นต้น โดยเฉพาะการหมิ่นสถาบันได้สร้างความแตกแยกของสังคม โดยจะมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นและทวีความรุนแรงความเสียหายมากขึ้น
อีกทั้งมีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบแฝงตัวผ่านการใช้เทคโนโลยีด้วยวิธีการนำเสนอข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ เป็นต้น จึงทำให้มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ รวมถึงด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิต
ของประชาชน หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน อีกทั้ง ในปัจจุบัน รูปแบบของการกระทำความผิดได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งยากต่อการป้องกัน ป้องปรามการติดตามและการจับกุมผู้กระทำความผิด ประกอบกับข้อหมายที่มีอยู่และเกี่ยวข้องได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับผู้รักษาการตามกฎหมาย กำหนดฐานความผิดขึ้นใหม่ และแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดเดิม รวมทั้ง บทกำหนดโทษของความผิดดังกล่าวการปรับปรุงกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตลอดจนกำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบ ซึ่งมีอำนาจเปรียบเทียบความผิด และแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ยังมีช่องว่าง
ให้สามารถกระทำความผิดได้ ซึ่งข้อกฎหมายที่มีอาจจะไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

อีกทั้ง กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ปท.) สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีภารกิจหลักดำเนินการรองรับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเที่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ รวบรวมหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ และมีการแต่งตั้งพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลากรที่สำคัญที่จะปฏิบัติงานโดยต้องมีความรู้ ทักษะทั้งด้านกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ปฏิบัติงาน เพื่อประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง โดยในปัจจุบันมีจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งแล้ว ๒๕๑ คน ซึ่งยังคงต้องมีการแต่งตั้งเพิ่มเติมต่อเนื่องตามจำนวนหน่วยงาน
ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสรรพากร เป็นต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาอบรมความรู้ ทักษะการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ สำหรับพนักเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจ
ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักสูตรอบรมตามแนบท้ายประกาศ และที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง
มีคู่มือหรือแหล่งอ้างอิงในการอบรม อีกทั้ง ยังมีการส่งเสริมเผยแพร่องค์ความรู้สำหรับประชาชนโดยจัดทำคู่มือแนวทางการป้องกันระวังภัยออนไลน์สำหรับประชาชน
เพื่อสร้างความตระหนัก และรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อต่อการกระทำผิดกฎหมายได้ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้ง
มีระบบฐานข้อมูลเตือนภัยออนไลน์ ที่ประชาชนสามารถใช้สืบค้นข้อมูลความรู้เตือนภัยออนไลน์ได้ และเป็นการสร้างความตระหนักรู้ ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยออนไลน์

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาขนด้านคดีและภัยออนไลน์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประขาชนในการให้บริการคำปรึกษาจากบุคลากรที่มีความรู้โดยตรง มีการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราขบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯโดยการจัดอบรมความรู้และทักษะโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสมที่มีความทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเพิ่มองค์ความรู้งานข้อมูลจราจรให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้บริการจัดเก็บข้อมูลจราจรอันเป็นประโยซน์ต่อประชาชนเมื่อเกิดเหตุคดีโดยมีคู่มือการอบรมงานข้อมูลจราจรที่หมาะสม เพื่อเผยแพร่ความรู้ประชาชนโดยจัดทำคู่มือแนวทางการป้องกันระวังภัยออนไลน์สำหรับประชาชน เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเตือนภัยออนไลน์สำหรับประชาชนได้สืบคันความรู้ด้านข้อมูลภัยออนไลน์เพื่อป้องกันการหลอกลวงจากข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และเพื่อสามารถนำรายงานผลการศึกษากฎหมายระดับสากลมาเป็นแนวทางปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ วางแนวทางที่เป็นประโยซน์ในอนาคตต่อไป อีกทั้ง มีรายงานข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของกระทรวงดิจิทัลฯ ในงานด้านพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ อันจะส่งผลให้มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประชาชนได้รับการบริการที่ดีตอบสนองรวดเร็วต่อไปได้